วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 8 มีนาคม 2562 
เวลา 12.30 - 16.30 น.
     ก่อนเริ่มทำการสอน อาจารย์ได้มีการทบทวนเรียนที่ได้เรียนมา ให้นักศึกษาช่วยกันตอบและสรุปเนื้อหาที่นักศึกษาเข้าใจ

  - การลงมือทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติการลงมือกระทำด้วยตนเอง หรือ เรียกว่า วิธีการของเด็ก
      -เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้  
 -การเล่น คือ วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด
-การเล่น ความสัมพันธ์ กับการทำงานของสมอง

                 อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจต์     
         ตามลำดับขั้นตอน เป็นพัฒนาการ

ทฤษฎีการเรียนรู้
    พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้ง เกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง

     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3  คน แต่จะมีหนึ่งกลุ่มที่จะได้อยู่ 2 คน กิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีมาให้เลือก
แต่ละกลุ่มเลือกได้ดังนี้
เรื่องตัวเลข,จำนวน,การวัด,กราฟแท่งกราฟเส้นความสัมพันธ์สองแกนคานดีดจากไม้ไอติมร้อยลูกปัดฝาขวดบวกเลขจากภาพ

คำศัพท์
1.  Sensori  ประสาทรับรู้
2. Concrete Operation  ปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
3.  Formal Operational  ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
4.Opposition  ตรงกันข้าม
5.Assimilation  ซึมซับ
6. Accommodation  ปรับและจัดระบบ
7. Equilibration  ความสมดุล
8.Subject  สาระ
9.Behavior  พฤติกรรม
10. Development  พัฒนาการ




ประเมินตนเอง   : ได้รู้จักในการวางแผน และรู้จักในการแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อทางคณิตศาสตร์
ประเมินเพื่อน     :  ทุกคนตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเข้าใจชัดเจน  และแบ่งกันให้นักศึกษาในการทำสื่อที่เข้าใจ         
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันพุธ ที่  26 เมษายน  2562  เวลา  12.30 - 16.30  น.                 อาจารย์ให้ทำแผ่นพับรายงานผู้ปกครองโดยอาจารย์จะกำหนดหัวข้...