วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันศุกร์ ที่ 25 มกราคม 2562 
เวลา 12.30 - 16.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อคณิตศาสตร์ และมีอุปกรณ์ในการทำสื่อดังนี้

กิจกรรมที่ 1
1.กระดาษขาว เทาแบบแข็ง
2. คัตเตอร์
3.กรรไกร
4.ดินสอ ยางลบ
5.ไม้บรรทัด
6.แผ่นรองตัด
                  อาจารย์ได้อธิบายวิธีการทำอย่างละเอียดและตามลำดับขั้นตอน ค่อยอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจและทำไปพร้อมๆกัน
ขั้นตอนในการทำสื่อ
1.นำกระดาษขาว เทาแบบแข็งแผ่นใหญ่มาแบ่งครึ่ง  และจะได้เป็น 4 แผ่นใหญ่ๆเท่าๆกัน
2.นำมาวัดและตัด ขีดช่องแนวนอน 10 ช่อง  ประมาณ 2 นิ้วและตัดออกจะได้เป็นทั้งหมด  2 ชุด
3. จากนั้นนำกระดาษที่เหลือมาตัดออก เพื่อที่ทำในชิ้นส่วนต่อไป  ในการทำตัวเลข ใช้ปากกาขีดเส้นแต่ละช่อง ทำทั้งหมด 2 ชุด  และตัดกระดาษ เป็นชิ้นเล็กในการเขียนตัวเลข 0-9 หน่วย สิบ เพื่อให้เด็กได้รู้จักตัวเลข
4. เมื่อตัดและทำเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ หน่วย ที่ได้ทำตามที่อาจารย์สอน



กิจกรรมที่ 2                                                                                                                         
               อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม อย่างละเท่าๆ กัน ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมัน เป็นผลไม้อะไรก็ได้  เป็นผลเล็กๆเพื่อที่จะให้วางบนกระดาษได้  หลังจากที่นักศึกษาปั้นเสร็จ และอาจารย์ให้หยิบสื่อที่ได้ทำ ตั้งไว้กลางกลุ่ม และให้นักศึกษาแต่ละคนวางผลไม้ที่ได้ทำ วางไว้บนสื่อ จนหมดสมาชิกในกลุ่ม และอาจารย์ให้นักศึกษานับ และสอนการเรียกที่ถูกต้อง  และอาจารย์ให้นับตัวเลขตัวสุดท้ายเป็นจำนวน หลังจากนั้นเก็บตัวเลขแล้วแบ่งผลไม้เป็น 2 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ เช่น รูปร่าง รูปทรง









คำศัพท์
1 .Ruler  ไม้บรรทัด
2.  Paper  กระดาษ
3.  Pencil   ดินสอ
4. Circle  วงกลม
5.Arithmetic  เลขคณิต
6. To calculate  คำนวณ
7. Width  ความกว้าง
8. Addition  การบวก
9. Subtraction  การลบ
10. Total  ทั้งหมด

ประเมินตนเอง : การวางแผนการทำงานของตนเองยังไม่ค่อยดี แต่ตนเองพยายามค่อยๆทำ
ประเมินเพื่อน : ทุกคนตั้งใจในการการวัดการตัด และสนุกในการทำสื่อ  อาจจะคุยกันบ้าง แต่ในการเรียนช่วยเหลือกันดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเข้าใจชัดเจน ค่อยๆอธิบายทีละขั้นตอนเพื่อให้นักศึกษา ได้ทำอย่างถูกต้อง












วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


วันศุกร์ ที่ 18 มกราคม 2562 
เวลา 12.30 - 16.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ
             วันนี้อาจารย์ให้ทำ mind map เกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็จะมีหัวข้อใหญ่ๆ 3 ข้อ คือ
1. คณิตศาสตร์
2. เด็กปฐมวัย
3. การจัดประสบการณ์
             เเต่ก่อนที่เราจะทำ เราต้องวางแผนก่อนว่า เขียนยังไงไม่ให้มีช่องว่างเยอะหรือจัดรูปแบบแบบไหนถึงจะสวยเเละดูดี






คำศัพท์
- Learning by doing การเรียนรู้โดยลงมือกระทำ
- Experience arrangement การจัดประสบการณ์
- Development พัฒนาการ
- Brain function การทำงานของสมอง
- Early childhood เด็กปฐมวัย
- Mathematics คณิตศาสตร์
- Nature ลักษณะ
- Comparison การเปรียบเทียบ
- Geometry รูปทรงเรขาคณิต- Learning การเรียนรู้

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน








ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเเละทำให้ถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงานของตนเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์บอกและอธิบายจุดผิดของเเต่ละคนเเละให้แก้ไขให้ถูกต้อง





สรุปงานวิจัย

วันศุกร์ ที่ 18 มกราคม 2562
เวลา 12.30 - 16.30 น.



         ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สําหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป
                  การศึกษาค้นคว้าอิสระของ : ศิริพรรณ สิทธิพูนอนุภาพ เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
จุดมุ่งหมาย
                   เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิด ไฮ/สโคป
ขอบเขตของการวิจัย
                     1. ประชากรที่ใช้ในการค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายศรีบุญเรียงสำนักงานเขตพื้อนที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขตภาคเรียนที่ปีการศึกษา 2551 จำนวน 86 คน จากโรงเรียน
                      2.กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านโต่งโต้น อำเภอ ศรีบุญเรียง จังหวัด หนองบัวลำภู จำนวน 9 คน จากหนึ่งห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจอะจง
                       3.ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า ใช้เวลาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
                       4.รูปแบบการศึกษาค้นคว้า ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้กระบวนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง
ตัวแปรที่ศึกษา
         ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope)
        ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดแก้ปัญหา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
มี 4 ชนิด คือ
1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope) จํานวน 16 แผน ทําการสอนแผนละ 50 นาที
2. แบบทดสอบย่อยท้ายแผน
ชนิดรูปภาพแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือกจํานวน 4 ฉบับๆละ 10 ข้อประกอบด้วยแบบทดสอบการจำแนกและเปรียบเทียบ
3. แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์
ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือกจํานวน 1 ฉบับ
4. แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

สรุปผลการวิจัย
                จากการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป ปรากฏผลดังนี้
1.แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.62/85.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2.ดัชนีประสิทธิภาพแผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป มีค่าเท่ากับ 0.7778 คิดเป็นร้อยละ 77.78
3.นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวนร้อยละ 88 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป มีความสามารถในความคิดแก้ปัญหา
ที่มา : http://khoon.msu.ac.th/



สรุปตัวอย่างการสอน

วันศุกร์ ที่ 18 มกราคม 2562
เวลา 12.30 - 16.30 น.



                                    โทรทัศน์ครู เรื่อง คณิตในชีวิตประจำวัน
          เรื่องนี้ชื่อว่า Making Maths+Real "สอนคณิตให้มีชีวิตชีวา" ครูต้องนำเอาวิชาคณิตศาสตร์เข้าไปสอนเด็ก ครูต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก ครูต้องเอาเรื่องที่เด็กสนใจมาให้เด็กเรียน เพื่อให้เด็กคิดว่าเด็กเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหา ช่วงต้นชั่วโมงครูให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เรื่องตัวเลข ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานไปกับการเรียนมากขึ้น มีการใช้สัญลักษณ์ท่าทางในการเรียน เด็กก็จะเริ่มรู้จักสัญลักษณ์นั้นๆ ใช้ภาษากายเพื่อให้เด็กเข้าใจว่าการเรียนเป็นเรื่องใกล้ตัว เด็กมักจะกลัววิชาคณิตศาสตร์เราควรหากิจรรมต่างๆเพื่อให้เด็กสนุกสนานและสร้างความกลมกลืนกับเด็กให้ได้เด็กก็จะรักวิชาคณิตศาสตร์ไปเอง





สรุปบทความ

วันศุกร์ ที่ 18 มกราคม 2562
เวลา 12.30 - 16.30 น.



                     เรื่อง การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ
บทความโดย....ดร.นิติธร ปิลวาสน์

            หมายถึง การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ ในเรื่องการสังเกต เปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียงลำดับ การนับ จากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืชและสัตว์วัสดุธรรมชาติที่ได้จากพืช เช่น เมล็ดธัญพืชต่างๆ เปลือกข้าวโพด ใบมะพร้าว ก้านกล้วย ใบไม้ ดอกไม้ และวัสดุธรรมชาติที่ได้จากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เกล็ดปลา ซากกุ้ง-ปู ที่นำมาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การร้อย การพิมพ์ การประดิษฐ์ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานแล้ว สื่อจากธรรมชาติที่มีลักษณะแตกต่างกันในเรื่อง รูปร่าง สี ขนาด น้ำหนัก พื้นผิว เป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทั้งทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ การนับ การจัดกลุ่ม การจัดลำดับ การเรียนรู้ค่าและจำนวน ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เป็นทักษะหรือประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่มีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้กับเด็กปฐมวัย คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย ในการเล่นและการสื่อสารพูดคุยของเด็กของเด็กนั้นมักมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ





วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันศุกร์ ที่ 11 มกราคม 2562
เวลา 12.30 - 16.30 .


                   วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรก อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนทำ คือ สร้าง Blogger ของแต่ละคนเอง

ภายในบล็อคนั้น จะต้องประกอบไปด้วย
- แนวการสอน มคอ.3
- งานวิจัย ที่ไม่เกิน 10 ปี
- บทความ
- หน่วยงานที่สนับสนุน
- ตัวอย่างการสอน
- ตัวอย่างสื่อ



ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเเละทำให้ถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงานของตนเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สั่งงานที่ต้องทำอย่างละเอียด




บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันพุธ ที่  26 เมษายน  2562  เวลา  12.30 - 16.30  น.                 อาจารย์ให้ทำแผ่นพับรายงานผู้ปกครองโดยอาจารย์จะกำหนดหัวข้...